TENSION GAUGE / SPRING BALANCE
Tension Gauge หรือ Spring Balance เป็นเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน สามารถชั่งน้ำหนักของวัตถุโดยใช้หลักการยืดและหดของสปริง ดูว่าน้ำหนักของวัตถุดึงให้สปริงยืดได้เท่าไร โดยน้ำหนักมากก็ทำให้สปริงยืดมาก บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) จึงอยากแนะนำเครื่องมือที่เรามีบริการแคลิเบรท (Calibrate) หรือ สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่ในตอนนี้
หลักการทำงานของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนสามารถอธิบายได้คร่าวๆ ดังนี้
Tension Gauge หรือ Spring Balance ที่จะวัดปริมาณของแรงที่กระทำต่อวัตถุ โดยที่ปลายข้างหนึ่งของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนจะถูกดึงให้ยืดขยายออกเมื่อมีน้ำหนักมาถ่วงตามแนวแรงโน้มถ่วงของโลก อาศัยกฎของฮุคที่ว่า “การยืดขยายของวัตถุเป็นสัดส่วนโดยตรงกับแรงที่ยืดขยายมันออก” ที่ตำแหน่งเดียวกันของโลก แรงโน้มถ่วงของโลกหรือแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุต่างๆจะมีค่าเท่ากันเสมอ แต่วัตถุต่างๆ บนโลกมีมวลต่างกัน แรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อมวลของวัตถุเหล่านั้นจึงมีค่าแตกต่างกัน วัตถุจึงมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เช่น ส้มโอมีมวลขนาดใหญ่แรงดึงดูดจึงมากกว่ามะนาวซึ่งมีมวลขนาดเล็กกว่า ทำให้ส้มโอมีน้ำหนักมากกว่ามะนาว
ส่วนประกอบของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนมี ดังรูป
วิธีการใช้และการอ่านค่าของแรงบนเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนที่ถูกต้อง มีวิธีการดังนี้
ให้จับที่หูจับด้านบนของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนในการอ่านค่าของแรงจะทำได้เมื่อหมุดหยุดนิ่ง แล้วมองตรงรอยบากกึ่งกลางของหมุดที่ระดับสายตาว่าตรงกับขีดบอกค่าที่เท่าใด การอ่านค่าของน้ำหนักอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ถ้าระดับสายตาของผู้สังเกตอยู่ต่ำหรือสูงกว่าบริเวณหมุด นอกจากนี้ถ้าเครื่องชั่งสปริงบางเครื่องมีค่าเริ่มต้นไม่ตรงกับค่าศูนย์ สามารถปรับระดับให้ตรงที่ขีดศูนย์ได้ โดยการหมุนน็อตที่อยู่ด้านบนของกระบอกเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน เพื่อปรับให้หมุดตรงที่ขีดศูนย์ การอ่านค่าน้ำหนักของวัตถุหรือแรงที่โลกดึงดูดวัตถุ เมื่อแขวนวัตถุไว้กับเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนจะต้องสังเกตที่ขีดสเกลหน่วยนิวตันบนเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน ซึ่งแบ่งค่าไว้ตั้งแต่ 1-10 นิวตัน (N) นอกจากขีดสเกลจะแสดงค่าของแรงแล้ว เครื่องชั่งสปริงยังมีขีดสเกลหน่วยกรัม (g) หรือ หน่วยกิโลกรัม (kg) ที่แสดงค่าของมวล ซึ่งแบ่งค่าไว้ตั้งแต่ 0-1,000 กรัม (g) หรือ 1 กิโลกรัม (kg) อีกด้วย
เนื่องจากน้ำหนักและมวลมีความสัมพันธ์กัน จึงสามารถเทียบเคียงระหว่างน้ำหนักและมวลของวัตถุได้เครื่องชั่งสปริงแบบแขวนจะยืดออกเมื่อมีแรงมาดึง เราสามารถอ่านค่าของแรงที่ใช้ดึงได้จากสเกล ในกรณีที่น้ำหนักของวัตถุมาแขวนไว้กับเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน ค่าของแรงที่อ่านได้จากเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนคือแรงที่วัตถุดึงเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน ซึ่งเท่ากับน้ำหนักของวัตถุ
หน่วยการวัดของ เครื่องชั่งสปริงแบบแขวน
Tension Gauge ใช้หน่วย กิโลกรัม(kg) , กรัม(g) , นิวตัน (N) และขีด เป็นหน่วยที่ใช้บอกน้ำหนักในการชั่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้
- น้ำหนัก 1 กิโลกรัม (kg) เท่ากับ 1,000 กรัม (g) หรือ 9.81 นิวตัน (N)
- น้ำหนัก 100 กรัม (g) เท่ากับ 1 ขีด
- น้ำหนัก 10 ขีด เท่ากับ 1 กิโลกรัม (kg)
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถ สอบเทียบด้านมวล เครื่องมือวัด Tension Gauge ได้ครอบคลุมทุกหน่วยการวัดที่กล่าวมาข้างต้น และได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จาก ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรม โดยขอบข่ายการวัดสามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัดด้านมวล กับเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนนี้ด้วยวิธีการ Comparison with Standard Weight โดย Range การ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่ได้รับการรับรองตั้งแต่ 0 – 2000 kg ดังแสดงในรูปด้านล่าง
ข้อควรปฏิบัติและวิธีการบำรุงรักษาเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน
- วาง เครื่องชั่งสปริงแบบแขวน ในบริเวณที่แยกจากเครื่องมืออื่น ๆ บนโต๊ะ ให้มีการสั่นสะเทือนน้อย ควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มีการเดินพลุกพล่าน ไม่ควรวางให้ชิดบริเวณหน้าต่าง เพราะอาจจะถูกฝนหรือความร้อนจากแสงแดด
- วาง Tension Gauge ไว้ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ (อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงประมาณ ± 2 องศาเซลเซียส)
- เมื่อใช้งานเสร็จเรียบร้อย ควรเช็ดทำความสะอาดเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนทันที เพื่อป้องกันการเกิดสนิมที่บริเวณสปริงของเครื่องชั่ง
- ไม่ควรชั่งน้ำหนักสิ่งของที่หนักเกินกว่า Max Range ของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวนเพื่อป้องกันการเสียหายของสปริง
ผู้เขียน Keaw VIP
บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง
—————
VDO l สอบเทียบ”เครื่องชั่ง”เอง ทำได้หรือไม่? มีวิธีอย่างไร
VDO l “เครื่องชั่ง” อยากปรับค่าเอง ทำอย่างไร