ถอดรหัส Tubular inside Micrometer ไมโครมิเตอร์อีก 1 ชนิดที่ต้องรู้

Tubular inside Micrometer

หรือ ไมโครมิเตอร์วัดใน เป็นเครื่องมือวัดที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ไมโคมิเตอร์” มีอยู่หลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับการเลือกนำมาใช้งานให้ถูกประเภทตามความเหมาะสม โดย “ไมโคมิเตอร์” หลักๆแล้วที่ใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน จะมีอยู่ 3 ประเภท เช่น

ไมโครมิเตอร์ภายนอก (Outside Micrometer) : ออกแบบมาสำหรับวัดด้านนอกของวัตถุ – เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก           

ไมโครมิเตอร์ภายใน (Inside Micrometer) : วัดด้านในหรือเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน

ไมโครมิเตอร์ความลึก (Depth Micrometer) : วัดความลึกของรูช่องหรือช่อง

Tubular inside Micrometer, ไมโครมิเตอร์วัดใน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, ไมโครมิเตอร์

“Tubular inside Micrometer” หรือ “ไมโครมิเตอร์วัดใน” จะมีทั้ง ดิจิตอลที่ทำการอ่านค่าหลังจากการวัดเป็นแบบตัวเลข และ อนาล็อก จะอ่านค่าจากสเกล แต่ “ไมโคมิเตอร์” ที่จะพูดถึงในบทความนี้จะเป็น  “Tubular Inside Micrometer” เป็น “ไมโคมิเตอร์” ประเภทแบบวัดในลักษณะของตัวเครื่องมือ มีลักษณะเป็นแบบแท่งตรงแล้วสามารถนำเอามาต่อด้ามเพื่อเพิ่มระยะความยาวในการใช้งานที่มีขนาดแตกต่างกันออกไปและตรงส่วนปลายสัมผัสเป็น “คาร์ไบด์” สามารถหมุนปลอกเพื่อตั้งค่าระยะตามที่ต้องการได้ เป็นเครื่องมือวัดที่มีระยะการวัดกว้างเพราะสามารถนำแกนหลายๆขนาดมาต่อกันได้หลังจากเลือกขนาดของแกนด้านที่จะนำมาต่อให้ได้ตามขนาดที่จะวัดแล้ว เมื่อต้องการหมุนเพื่อใช้งานควรหมุนไปให้ถูกด้านเพื่อให้ปลาย “คาร์ไบด์” แตะสัมผัสผิวชิ้นงานอย่างสนิท และตัว ROD ที่มีอยู่ภายใน SET ของ “Tubular inside Micrometer” ยังสามารถที่จะนำมาเช็คค่าเพื่อทำการออกใบ CER ได้อีกด้วย เพราะ แท่ง ROD สามารถนำเอามาต่อกับตัวหัวเครื่องมือวัด “Tubular inside Micrometer” เพื่อเพิ่มระยะในการวัดชิ้นงานได้และสามารถนำค่าที่เช็ค ROD ไปใช้ได้จริงว่าสอบเทียบเครื่องมือวัดเช็คค่าออกมาแล้วได้ค่าที่ชัดเจนแต่ละ ROD อยู่ที่เท่าไหร่

ข้อควรระวังในการใช้งาน

1.ควรตรวจสอบผิวสัมผัสแกนวัดอยู่เสมอ

2.ก่อนที่แกนวัดจะสัมผัสชิ้นงาน ควรหมุนแกนเครื่องมือวัดเลื่อนช้าๆเพื่อให้หัวแตะสัมผัสเบาๆ

 3.อย่านำตัว Tubular inside Micrometer ไปวัดชิ้นงานที่ร้อนเพราะจำทำให้ค่าวัดผิดพลาดและเครื่องมือชำรุดได้

4.อย่าเก็บไมโคมิเตอร์รวมไว้กับเครื่องมืออื่นแล้ววางทับกันเพราะอาจทำให้ตัวเครื่องมือชำรุดได้

การดูแลรักษา ไมโครมิเตอร์วัดใน

1.ควรลองเช็คหมุนแกนของตัว Tubular inside Micrometer อย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าทำตก

2.เช็ดทำความสะอาดเช็ดฝุ่นและคราบน้ำมันที่มาจากการวัดชิ้นงานหลังจากใช้งานทุกครั้ง

3.เก็บใส่กล่องให้เรียบร้อยใส่สารดูดความชื้นในกล่องเพื่อลดความชื้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิม

 

ขอบข่ายในการออก ACCREDITED ของ บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ( CLC ) การส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด สามารถออก ACCREDITED ได้การรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025:2017

จาก สมอ (ประเทศไทย) และ ANAB (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

 

สิ่งที่ผู้เขียนอยากให้ผู้อ่านได้นึกถึงความสำคัญของการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

การส่งเครื่องมือสอบเทียบเพื่อตรวจสอบ เช็คค่า เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องมือที่เราใช้งานอยู่นั้นยังสามารถที่จะใช้งานได้ ต้องสอบเทียบแล้วยังได้ค่าที่เที่ยงตรง แม่นยำ ถูกต้องอยู่ เครื่องมือวัดอุตสหกรรมในโรงงานส่วนมากก็จะมีการส่งตรวจสอบ และ สอบเทียบเครื่องมือวัด โดยต้องให้มีความถูกต้องอยู่ในช่วงความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (MPE) ที่ทางลูกค้าได้กำหนดไว้ เพื่อให้ได้มาตรฐาน

ผู้ใช้งานควรมีการกำหนดช่วงระยะเวลาในการดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือแต่ละประเภทที่ผู้ใช้งานใช้งานอยู่ ระยะเวลาในการกำหนดขึ้นอยู่กับการใช้งานของทางผู้ใช้งานด้วย ถ้าใช้บ่อยก็ควรส่งสอบเทียบเพื่อดูค่าความคลาดเคลื่อนของตัวเครื่องมือบ่อยตาม ความหมายก็คือ กำหนด Due date กำหนดวันส่งเครื่องมือเข้าสอบเทียบ เช่น 3 เดือน/ครั้ง , 6 เดือน/ครั้ง , 1ปี/ครั้ง ควรสอบเทียบเครื่องมือก่อนนำมาใช้งาน ควรเลือกใช้บริการห้องการสอบเทียบที่ได้มาตราฐานและได้รับการรับรองความสามารถ Accredit
ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 การสอบเทียบเครื่องมือวัดมีความสำคัญต่อทุกๆโรงงานอุตสาหกรรมที่ยื่นทำระบบคุณภาพควรต้องมีระบบมาตรฐานคุณภาพที่ชัดเจนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับโรงงานสร้างประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ที่ได้ทำการผลิตออกไป

 

รูปแบบของ Tubular inside Micrometer ไมโครมิเตอร์วัดใน

Tubular inside Micrometer, ไมโครมิเตอร์วัดใน, สอบเทียบเครื่องมือวัด Tubular inside Micrometer, ไมโครมิเตอร์วัดใน, สอบเทียบเครื่องมือวัด

Tubular inside Micrometer, ไมโครมิเตอร์วัดใน, สอบเทียบเครื่องมือวัด Tubular inside Micrometer, ไมโครมิเตอร์วัดใน, สอบเทียบเครื่องมือวัด

ผู้เขียน Kaem Yui  

 

ประเภท ข้อควรระวัง และการสอบเทียบไมโครมิเตอร์วัดภายนอก (Outside micrometer)

 

บริการสอบเทียบด้านมิติ ดูสินค้าด้าน Dimension

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา