การทำงานในการวัดความต้านทานฉนวน และการบำรุงรักษา

การทำงานในการ วัดความต้านทานฉนวน และการบำรุงรักษา

สวัสดีผู้อ่านทุกท่านค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ วันนี้ทางผู้เขียนก็มีเครื่องมือที่น่าสนใจมาแนะนำกันอีกหนึ่งตัวค่ะ อยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าเป็นเครื่องมืออะไร และจะใช้เจ้าเครื่องมือนี้ทำอะไรได้บ้าง งั้นเราไปดูกันเลยค่ะ  

วัดความต้านทานฉนวน,เครื่องมือวัด

รูปที่ 1

ตัวอย่างเครื่อง INSULATION TESTERS ทั้งแบบ ANALOG และ DIGITAL

 

เครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า (Insulation Tester)

คือ เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้าของทุกท่านมีความผิดปกติเกี่ยวกับฉนวนไฟฟ้าหรือไม่ค่ะ  ซึ่งในปัจจุบันก็มีทั้งแบบ ANALOG และ DIGITAL ทุกท่านก็สามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวกเลยค่ะ (เลือกได้ตามราคาที่เหมาะสมนะ)

หรือจะเรียกว่าเป็น เครื่องมือ ที่ใช้วัดความต้านทานชนิดพิเศษ โดยการวัดนั้นเครื่องมือวัดก็จะแสดงค่าเป็นหน่วยของความต้านทานที่มีค่าสูงมาก ซึ่งเรียกกันว่า เมกะโอห์ม (M) นั่นเองค่ะ โดยไอ้เจ้าค่าความต้านทานดังกล่าวที่พูดถึงเนี่ย ก็จะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้าหรือเป็นเครื่องชี้บ่งว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ท่านหรือเพื่อนร่วมงานใช้อยู่มีกระแสไฟฟ้ากำลังรั่วลงดินอยู่หรือเปล่า (ถ้ารั่วนี่อันตรายมากนะคะทุกคน) ซึ่งถ้าอุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้ามีความผิดปกติเกี่ยวกับฉนวนไฟฟ้าก็อาจจะทำให้ผู้ใช้งานถูกไฟฟ้าดูดจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต หรือถ้ายิ่งไปกว่านั้นอาจจะทำให้เกิดเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าลัดวงจรได้เลยนะคะ เห็นไหมว่าเครื่องมือตัวนี้มีความสำคัญไม่น้อยเลย

วัดความต้านทานฉนวน,เครื่องมือวัด,เครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า

รูปที่ 2

หลักการทำงานในการ วัดความต้านทานฉนวน

          เครื่องทดสอบความเป็นฉนวน Insulation Tester  ทุกท่านเคยเห็นการทดสอบการหารอยรั่วของท่อน้ำประปาไหมคะ เมื่อใส่แรงดันน้ำสูงๆเข้าไปในท่อ เมื่อตรงไหนรั่วตรงนั้นก็จะมีน้ำไหลออกมา ลักษณะเดียวกันเลยค่ะ การทดสอบหลักๆของเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนก็จะคล้ายกับการตรวจสอบหารอยรั่วของท่อประปา โดยถ้าเราอยากรู้ว่าอุปกรณ์นั่นๆมีไฟรั่วหรือไม่เราก็จะป้อนแรงดันสูงๆเข้าไป โดยใช้เครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นตัวจ่ายแรงดันดังกล่าว เพื่อหาจุดรั่วไหลของกระแสไฟ เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟ  220 โวลต์   ทดสอบโดยใช้แรงดันไฟ  500  โวลต์  ซึ่งมีย่านการวัดได้ถึง 200 เมกะโอห์ม(MΩ)   อุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฟ  380 โวลต์  ทดสอบโดยใช้แรงดันไฟ  1000  โวลต์ ซึ่งมีย่านการวัดได้ถึง 1000 เมกะโอห์ม(MΩ)

โดยการทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้าสามารถอธิบายได้ดังรูป

การทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า,เครื่องมือวัด

รูปที่ 3 ที่มา : https://mall.factomart.com

มื่อป้อนแรงดันกระแสตรงที่มีค่าสูงๆ ให้กับตัวต้านทานฉนวนที่ต้องการวัด (Rx) ทำการวัดค่ากระแส (I) และค่าแรงดันที่ตกคร่อม (V) ตัวต้านทานฉนวน (Rx) หลังจากนั้นนำค่าแรงดันตกคร่อมที่ได้ (V) หารด้วยกระแส (I) ก็จะได้ค่าความต้านทานฉนวน (Rx)

เราสามารถใช้ เครื่องมือวัด นี้ทำอะไรได้บ้าง

  1. ใช้วัดค่าความเป็นฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือตัวรถยนต์เอง ตามศูนย์ซ่อมบำรุงรถยนต์
  2. ใช้วัดค่าความเป็นฉนวนของสายเคเบิ้ล
  3. ใช้วัดค่าความเป็นฉนวนของเครื่องมือเครื่องใช้ใหม่ในไลน์ผลิต หรือสายไฟเลี้ยง
  4. เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ไมโครเวฟ หม้อแปลงไฟฟ้าในเครื่องจักร ฯลฯ
  5. ใช้วัดค่าความเป็นฉนวนในอุปกรณ์ไฟฟ้าของเครื่องจักรเก่าที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น หม้อแปลง ฉนวนของมอเตอร์ไฟฟ้า สายไฟภายในโรงงาน ฯลฯ

การวัดความต้านทานฉนวนใช้วัดเพื่ออะไร

อย่างที่เราทราบกันอยู่แล้วว่าเครื่องมือเครื่องใช้ทางไฟฟ้า หรือเครื่องจักรต่างๆเองก็ดี ทุกอย่างล้วนมีสายไฟ  มอเตอร์  หรือแม้กระทั่งหม้อแปลง สิ่งเหล่านี้ล้านมีการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา 

สาเหตุของการเกิดฉนวนเสื่อม

  • ความเสียหายทางกล (การกระแทก การเจาะ การสั่น)
  • ความร้อนหรือความเย็นสูงเกินไป
  • ฝุ่น, สิ่งสกปรก
  • น้ำมัน
  • ไอกัดกร่อน
  • ความชื้นหรือเปียก

การเสื่อมสภาพต่างๆเหล่านี้ หรือเรียกว่ามีอายุการใช้งานที่จำกัดอยู่แล้ว ซึ่งหากอุปกรณ์ที่กล่าวมาเกิดการชำรุดเสียหายก็จะทำให้เกิดไฟรั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร เราจึงใช้ เครื่องมือวัด ความต้านทานฉนวน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน ที่ทำงานนั้นๆ รวมทั้งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักรต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียตามมาภายหลัง

การวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าควรทำบ่อยๆ และสม่ำเสมอและควรมีการจดบันทึกค่าความต้านทานของฉนวนไว้ด้วยทุกครั้งเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยง หรือใช้เป็นข้อมูลเพื่อให้สามารถเช็คได้ว่าควรมีการเปลี่ยนมอเตอร์ หรือสายไฟนั้นหรือยัง ซึ่งค่าความต้านทานของฉนวนไม่ควรต่ำกว่า 100 MΩ หลังจากที่มีการ Apply Volt ที่ 1.0 kV  เป็นเวลา 60 วินาที ถ้าไม่ผ่านควรเตรียมเปลี่ยนสายไฟพันหรือเปลี่ยนมอเตอร์ใหม่ทันที  ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกคนนะคะ

 

การบำรุงรักษาเครื่องมือวัด     

ถ้าเราอยากให้เครื่องมือวัดนี้อยู่กับเราไปนานๆ หรือมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น สิ่งที่ควรตรวจสอบก็มีดังนี้นะคะ

  1. หมั่นเช็ดทำความสะอาดเครื่องมือเป็นประจำ
  2. เก็บเครื่องให้อยู่ในที่ที่สะอาดไม่มีสิ่งสกปรก เช่น ฝุ่น น้ำหรือ น้ำมัน และไม่อยู่ในที่ที่มีอากาศชื้น
  3. ควรตรวจดูรางถ่านเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสื่อมสภาพของถ่านเพราะจะทำให้เครื่องมือเสียหายได้
  4. ไม่จัดเก็บเครื่องมือให้อยู่ในสภาพอากาศที่เย็นหรือร้อนเกินไป
  5. ไม่จัดเก็บเครื่องมือให้อยู่ใกล้เครื่องจักรที่มีการทำงาน หรือมีแรงสั่นสะเทือน จากการเจาะ การกระแทก
  6. สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าค่าที่วัดได้จะถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการวัดที่ผิดเพี้ยน

เพียงเท่านี้ก็จะช่วยเพิ่มและยืดอายุการใช้งานเครื่องมือได้ยาวนานยิ่งขึ้นแล้วค่ะ

เห็นไหมล่ะคะว่า เครื่องมือวัด นี้มีความจำเป็นไม่น้อยเลย หากเราหมั่นทำการตรวจเช็คสภาพของอุปกรณ์ที่เราใช้แล้วก็สามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายที่จะเกิดกับตัวเราเองและเพื่อนร่วมงานได้อีกด้วย

 

ทั้งนี้ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราก็ยังมีเครื่องมือประเภทนี้จำหน่ายกันด้วยนะคะรวมทั้งยังสามารถ สอบเทียบเครื่องทดสอบความเป็นฉนวนไฟฟ้า (Insulation tester) ได้ โดยได้รับการรับการรับรอง ISO/IEC 17025 (ANAB) หากท่านใดสนใจในบริการของเราสามารถติดต่อเราได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยนะคะ

Katai

 

 

 

บริการสอบเทียบด้าน Electrical

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา