เครื่องมือมิเตอร์วัดค่า LCR (LCR Meter)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดกับงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงที่จะต้องมีเครื่องนี้เพื่อใช้สำหรับวัดวงจรไฟฟ้าภายในอุปกรณ์ต่างๆ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะมีวงจร อยู่ภายในหลัก ๆ ประมาณ 3 ชนิดและแบ่งตามหน้าที่ คือ
- ชนิดที่ทำหน้าที่เป็นตัวเหนี่ยวนำ เรียกว่า L (Inductance)
- ชนิดที่เป็นตัวทำหน้าที่เก็บประจุ เรียกว่า C (Capacitance)
- ชนิดที่ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทาน เรียกว่า R (Resistance) จึงจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือ LCR Meter เพื่อใช้ในการวัดอุปกรณ์ภายในของวงจรไฟฟ้า
ประเภทและหลักการทำงานของ LCR Meter
LCR Meter แบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยหลักๆ ที่นิยมใช้งานกันส่วนใหญ่จะเป็นแบบพกพา (Hand Held)
- มิเตอร์วัดค่า LCR แบบพกพา (Hand held) ลักษณะทั่วไปของเครื่องมือจะมีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามหน้างานที่ต้องอาศัยความคล่องตัว ซึ่งใช้กับงานที่ทดสอบความถี่ที่ไม่สูงมากเช่น 100 kHz ความถูกต้องแม่นยำอยู่ใน 2% เป็น 0.1%
- มิเตอร์วัดค่า LCR แบบตั้งโต๊ะ (Portable) ลักษณะโดยทั่วไปจะมีนำหนักเยอะกว่าแบบมือถือ ไม่นิยมเคลื่อนย้ายเนื่องจากมีค่าความละเอียดและแม่นยำสูง นิยมใช้ใน Lab หรือห้องทดสอบต่างๆ และใช้สำหรับการวัดงานที่ทดสอบความถี่สูงมากกว่า 100 kHz ความแม่นยำในการวัด 0.01%
ทำไมต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด ??
เครื่องมือที่มีการใช้งานอยู่นั้นโดยลักษณะทั่วไปจะส่งผลต่อค่าที่อ่านได้แม่นยำหรือไม่แม่นยำทางผู้ใช้งานจะทราบได้ก็ต่อเมื่ออ่านค่าไม่ตรง มีผลการสอบเทียบเกินเกณฑ์การยอมรับ (MPE) ที่ตั้งไว้ ซึ่งส่งผลโดยตรงเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ใช้งานและคนรับผิดชอบเกี่ยวกับงานนั้นๆ เพราะอย่างนั้นแล้วควรมีการสอบเทียบเครื่องมือเป็นประจำกับห้องแลปที่มีเครื่องมือมาตรฐานเพื่อให้เกิดความมั่นใจและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน
Calibration Laboratory Co.,ltd (CLC) ให้บริการสอบเทียบทั้ง In house และ Onsite โดยใช้วิธีการ Direct Measurement ประเภท เครื่องมือมิเตอร์วัดค่า LCR Meter สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่
- Capacitance 100 pF – 10 µF
- Resistance 1Ω – 10 MΩ
- Inductance 100 µH – 1H
Scope การสอบเทียบเครื่องมือ มิเตอร์วัดค่า LCR Meter คลิก
การดูแลรักษาเพื่อยืดอายุการใช้งาน เครื่องมือ มิเตอร์วัดค่า LCR (LCR Meter)
- ก่อนใช้งานของ เครื่องมือวัด ควรเช็คขีดความสามารถของเครื่องมือมิเตอร์วัดค่า LCR Meter ว่าสามารถอ่านค่าได้มากสุดเท่าไหร่ เหมาะสมกับอุปกรณ์หรือวงจรไฟฟ้าที่เราจะนำไปวัดหรือไม่
- หลังการใช้งานควรปรับฟังชั่นให้กลับไปเป็นฟังก์ชั้นเริ่มต้นใช้งานให้ครบทุกฟังก์ชั่นก่อนปิดเครื่อง
- จัดเก็บสายไฟหรืออุปกรณ์เข้าที่เป็นระเบียบให้พร้อมใช้งาน
ข้อแนะนำในการส่ง สอบเทียบเครื่องมือวัด กับทาง Calibration Laboratory (CLC)
- ตรวจสอบเครื่องมือมิเตอร์วัดค่า LCR ที่จะใช้ในการสอบเทียบว่าเปิดติดหรือไม่ และต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน
- นำอุปกรณ์เสริมของเครื่องมือมาพร้อมกับตัวเครื่อง เช่นสายไฟที่จะใช้ในการวัดค่า
- กรณีที่เป็นเครื่องมือ มิเตอร์วัดค่า LCR แบบตั้งโต๊ะ ควรมีความระมัดระวังเป็นอย่างสูงควรใส่กล่องกันกระแทกด้วยก่อนเคลื่อนย้าย หรือหากเคลื่อนย้ายเครื่องมือไม่สะดวก ควรให้ทาง Lab สอบเทียบ ออกไปสอบเทียบ ณ โรงงาน (Onsite Service)
- ควรกำหนดจุดสอบเทียบตามลักษณะการใช้งานปัจจุบัน เพื่อเพิ่มความแม่นยำของการสอบเทียบและตรงความต้องการในการใช้งาน
MKS